โลมาอิรวดี

เมืื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาผมได้มีโอกาสเอาเรือลงน้ำเพื่อไปทดสอบอีกครั้ง น้ำในแม่น้ำบางปะกงวันนี้ต้องขอบอกว่านิ่งมากๆ และ อากาศก็ไม่ร้อนจัด
พอขับเรือออกไปถึงแถวปากอ่าว ตอนแรกกะว่าจะหย่อนเบ็ดเล่นๆ เพื่อได้โอเมก้า3 ไปฝากคนที่บ้าน แต่ด้วยความที่ท้องฟ้าสดใส น้ำก็เรียบเป็นกระจก
แถมชาวบ้านแถวนั้นบอกว่าโลมาเริ่มเข้าแล้ว เลยอดใจไม่ไหวที่จะขับเรือออกไปหาเจ้าโลมาแสนรู้ ที่แวะเวียนมาแถวปากอ่าวบางปะกงช่วงสิ้นปีของทุกปี
ขับเรือออกจากฝั่งไปไกลพอสมควร เลยทุ่นนำร่องที่ 1 ออกไปอีก ทะเลวันนี้ต้องขอบอกว่าที่สุดของการขับเรือจริงๆครับ นิ่งมากๆ มีคลื่นเล็กๆมาเป็นระยะ
กระแสลม กระแสน้ำ เป็นใจมากๆ ขับเรือวนเล่นไปอยู่สักพัก หวังว่าจะได้พบโลมาแถวนี้ แต่ด้วยความที่อากาศเริ่มที่จะร้อนขึ้น และ น้ำเริ่มลง โลมาเลยลงลึกกันหมด
และ ด้วยความที่ไม่ได้ตั้งใจที่จะออกมาไกลขนาดนี้ เลยไม่ได้เตรียมน้ำมันสำรองมาด้วย เลยตัดใจหันหัวเรือกลับเข้าฝั่ง ใหนๆพูดถึงเจ้าโลมาอิรวดี หรือ โลมาหัวบาตรแล้ว
เลยขออนุญาตเอาข้อมูลเกี่ยวกับเจ้าโลมาหัวบาตรมาให้อ่านกันครับ


โลมาอิรวดี(Orcaella brevirostris)
“โลมาหัวบาตรครีบหลัง” ที่เรียกขานกัน มีชื่อทางการ “โลมาอิรวดี” (Irrawaddy Dolphin) หรือชื่อทางวิทยาศาสตร์ (Orcaella brevirostris) จัดอยู่ในวงศ์ DELPHINIDAE เดิมเรียกว่า “โลมาหัวหมอน” เพราะมีรูปร่างใหญ่ กลม คล้ายหมอนหนุน หรือท่อนไม้

ลักษณะทั่วไป
หัวค่อนข้างกลม ไม่มีจะงอยปาก เช่น โลมาอีกหลายชนิด สีลำตัวแปรเปลี่ยนไปตั้งแต่สีน้ำเงิน เทาเข้มจนถึงน้ำเงินจาง โลมานี้จะรวมกลุ่มเช่นเดียวกับโลมาในมหาสมุทรแม้ว่าโลมาบางตัวสามารถอาศัยได้ในแม่น้ำที่จีดสนิทก็ตาม เช่นที่พบได้ในแม่น้ำคงคาประเทศอินเดีย

โลมาอิระวดีมีลักษณะเด่นที่ครีบหลังรูปทรงสามเหลี่ยมขนาดเล็กปลายมน พบในตำแหน่งที่ห่างจากจุดกึ่งกลางลำตัวค่อนไปทางหาง เป็นโลมาขนาดเล็ก ที่ว่ายน้ำโดยปกติค่อนข้างช้า และอยู่เป็นกลุ่มเล็ก ๆ เมื่อพิจารณาลักษณะภายนอก โลมาอิระวดีมีรูปร่าง ลักษณะคล้ายคลึงกับวาฬเบลูก้า (Beluga whale) หรือที่เรียกทั่วไปว่าวาฬมีฟัน (Toothed whale) และยังมีรูปทรงคล้ายคลึงกับ โลมาหัวบาตร หรือโลมาไม่มีครับหลัง(Finless porpoise) ซึ่งมีหัวลมมนคล้ายกัน ทำให้บางครั้งมีความสับสนขึ้น แต่ที่จำง่าย ๆ ก็คือ โลมาอิระวดีมีครีบบนหลังหนึ่งอัน และมีฟันแหลมอยู่บนขากรรไกรบน จำนวนเต็มที่ 40 ซี่และจำนวน 36 ซี่ อยู่บนขากรรไกรล่าง


อุปนิสัยของโลมาอิระวดีมักอยู่รวมเป็นฝูงเล็ก แต่ละฝูงมีจำนวน 6 ตัว หรือน้อยกว่า ไม่ชอบปรากฏตัวให้เห็นตามผิวน้ำทะเล แต่ชอบโผล่หัวขึ้นมาที่ระดับผิวน้ำ จนบางครั้งได้ชื่อว่า เป็นจารชน ผลุบ ๆ โผล ่ๆ (Spyhopping) (บางที่เป็นอาหารที่มันทำเพื่อสามารถมองเห็นได้รอบตัว) มันไม่ชอบที่จะว่ายน้ำเล่นคู่กับเรือ บางครั้งช่วยเหลือชาวประมง บ้างก็โดนว่ายน้ำไล่ฝูงปลาให้ไปติดอวนของชาวประมง ที่น่ารักก็คือค่อนข้างขี้อายและหลบซ่อนตัว ความยาวของโลมาเต็มวัย อยู่ระหว่าง 90 -150 กิโลกรัมและให้ลูกเกิดใหม่มีความยาวประมาณ 1 เมตร ที่มีน้ำหนักประมาณ 12 กิโลกรัมหรือมากกว่า อาหารอันโอชะของโลมาเหล่านี้คือปลากุ้งและปลาหมึก

มักพบโลมาอาศัยอยู่บริเวณน้ำตื้นชายฝั่งในเขตร้อนและเขตกึ่งร้อนของมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิค รอบหมู่เกาะประเทศอินโดนีเซีย
ตอนเหนือของประเทศออสเตรเลีย และทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ใกล้ชายฝั่ง โดยเฉพาะบริเวณปากแม่น้ำได้แก่ บางปะกง ทะเลสาบสงขลา เจ้าพระยา เป็นต้น

Comments

About the author:

Avatar photo

. Follow him on Twitter / Facebook.