ทางเว็บไทยโบ๊ทคลับ รู้สึกเป็นเกียรติอย่างสูงที่ได้รับมอบสุดยอดของคัมภีร์ชาวเรือ จากกูรูตัวจริงแห่งวงการเรือไทย มาถึง 2 เล่มบทความที่แล้วผมได้ลงเรื่อง ” เยี่ยมชมอู่ต่อเรือเร็วไฟเบอร์กลาส “ ไปแล้ว วันนี้ผมจะอนุญาตแบ่งปันคัมภีร์ ที่เรียกได้เป็นสุดยอดคัมภีร์ของวงการเรือไทย ให้พี่น้องชาวเรือไทยได้อ่านกันครับ สำหรับคนที่รักเรือ รักสายน้ำ อยากจะมีเรือเองสักลำ หรือ อยากจะต่อเรือไว้ใช้เองสักลำ ต้องขอบอกว่า “ห้ามพลาด” โดยเด็ดขาดครับ ก่อนที่จะผมจะลงบทความนี้ให้อ่านก่อน ผมขอขอบคุณ คุณกิตติ อนุชาผัด คุณไกวัล อนุชาผัด ที่มอบสุดยอดคัมภีร์สองเล่มนี้ให้กับทางเวปไทยโบ๊ทคลับมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ ขอบคุณครับ
เรื่อง วิธีการต่อเรือไฟเบอร์กลาสขั้นพื้นฐาน
บทนำ
วัสดุไฟเบอร์กล๊าสได้ถูกนำมาใช้ต่อเรือ มีวิวัฒนาการมานานไม่ต่ำกว่า 50 ปี ซึ่งผู้เขียนได้มีโอกาสไปหาความรู้ในการไปทำงานในอู่ต่อเรือเร็ว ขนาดกลางในประเทศเยอรมันนี เป็นเวลา 2 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 2510 – 2512 และกลับบ้านเพื่อมาเปิดอู่ต่อเรือไฟเบอร์กล๊าสในประเทศไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2513 จนเกษียณอายุทำงาน เมื่อปี พ.ศ. 2544 รวมแล้ว ได้ทำงานเกี่ยวกับการต่อเรือไฟเบอร์กล๊าส เป็นเวลา 31 ปี ในระหว่างการทำงานได้มีการสั่งสมประสบการณ์ทั้งด้านดีประสบความสำเร็จ และด้านเสียหายที่เกิดจากความผิดพลาด จากการตัดสินใจของผู้เขียนเอง หรือจากภาวะแวดล้อมที่ทำให้เกิดปัญหาขึ้น การต่อเรือด้วยวัสดุไฟเบอร์กลาส เป็นที่แพร่หลายในประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศสหรัฐอเมริกาในยุโรป และในเอเชียได้แก่ประเทศญี่ปุ่น เกาหลี และไต้หวันซึ่งส่งออกเรือไฟเบอร์กลาส 100 เปอร์เซ็นต์ ปัจจุบันประเทศกำลังพัฒนา เช่น จีน มาเลเซีย กรีก ตรุกี รวมถึงไทย ก็กำลังมุ่งหน้าพัฒนาตลาดเพื่อส่งออกเรือไฟเบอร์กลาส ซึ่งปัญหาที่สำคัญของการส่งออกคือ เรื่องของคุณภาพสินค้า ความเป็นมืออาชีพและความคิดสร้างสรรค์เพื่อนำสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ (Innovations) ออกมาแสดงสู่สายตาชาวโลก คนไทยรู้จักการต่อเรือมานานแล้วและมีฝีมือดีในการต่อเรือไม้ แต่ปัจจุบันไม้กำลังเป็นสิ่งที่หายากและสมควรอนุรักษ์เอาไว้ เพื่อช่วยให้เรามีน้ำในดินเอาไว้ใช้ต่อไปในอนาคตซึ่งทุกคนกำลังหวาดผวากับปัญหาโลกร้อน และมีการคาดคะเนว่า โลกจะเกิดปัญหาพายุรุนแรงและน้ำท่วม เราจึงควรจะคิดหาวิธีแก้ไขแต่เนิ่นๆ โดยการพัฒนาการต่อเรือเพื่อใช้ประโยชน์ให้เหมาะสมกับการใช้งานในอนาคต รวมถึงการที่จะนำวัสดุที่เป็นมิตรต่อธรรมชาติ มาใช้เป็นวัสดุคอมโพสิตที่เราสามารถหาได้ในประเทศในราคาถูก โดยไม่ต้องพึ่งพาวัสดุที่มีคุณสมบัติล้ำหน้าและเทคโนโลยีราคาแพงจากต่างประเทศ
ผู้เขียนหวังว่าจากเนื้อหาของข้อเขียนต่อไปนี้ จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจและรับไปทำประโยชน์เพื่อต่อเรือที่ดี และพัฒนาต่อไปในอนาคต
ขอขอบคุณที่ให้โอกาสผู้เขียนได้ถ่ายทอดความรู้ และประสบการณ์เพื่อประโยชน์ต่อสาธารณชนชาวไทย
กิตติ อนุชาผัด
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
วิธีการต่อเรือไฟเบอร์กลาสขั้นพื้นฐาน (1)