เรือกู้ภัย

ได้เห็นข่าวเรื่องเรือกู้ภัยที่เอาไปช่วยน้ำท่วมล่ม เห็นข่าวแล้วต้องบอกว่าน่าเป็นห่วงมากๆ จากที่ดูข่าวมีหลายคน และ อู่ต่อเรือหลายอู่ออกมาแสดงความคิดเห็นกันเยอะมากๆ บางคนก็บอกว่าเป็นการใช้เรือผิดประเภท บางคนว่าเรือมีโฟมอยู่ตรงที่นั่งไม่น่าจะจม บางคนก็ว่าบรรทุกน้ำหนักเกิน บางคนก็ว่าคนขับไม่มีประสบการณ์เพียงพอ

เรื่องนี้สำหรับผมไม่ว่าจะเป็นด้วยสาเหตุใดก็ไม่ดีทั้งนั้น แต่ถ้าจะให้วิเคราะห์ว่าน่าจะเกิดจากอะไรบ้าง และ มีวิธีแก้ไขอย่างไรในอนาคต ข้อแรก จากที่ผมได้เห็นมีคนแสดงความคิดเห็นไว้ ที่บอกว่า เรือท้องแบนหัวตัวแบบนี้ ไม่ควรเอามาวิ่งในแม่น้ำที่มีกระแสคลื่น สำหรับผมเรื่องนี้ผมว่าเรือประเภทนี้พอที่จะวิ่งได้ ถ้าเราใช้ความระมัดระวังให้มากขึ้น จริงๆอยู่ว่าเรือประเภทนี้เป็นเรือท้องแบน ไม่สามารถที่จะวิ่งตัดคลื่นตรงๆได้ ถ้าวิ่งชนคลื่นตรงๆ อาจจะมีกระโดดกันทั้งลำ แต่เราสามารถที่จะวิ่งตัด 45 องศาเข้าหาคลื่นได้ วิธีนี้จะทำให้ลดการกระแทกได้เยอะมากๆ และ ทำให้วิ่งผ่านคลื่นได้นิ่มนวลมากขึ้น

ส่วนเรื่องที่คนบอกว่ามีโฟมที่ ที่นั่งแล้วไม่น่าจะจม การจมของเรือ ผมเคยเขียนเรื่องนี้เอาไว้แล้ว แต่ถ้าจะให้อธิบายแบบง่ายๆ และ สั้น ๆ ต้องบอกว่า สิ่งที่จะทำให้เรือจมก็คือเรื่อง displacement ก็คือถ้าตราบใดที่ความหนาแน่นบนเรือยังน้อยกว่าความหนาแน่นของน้ำ ทำยังไงเรือก็จะไม่จม ถ้าความหนาแน่นบนเรือมากกว่าน้ำเมื่อไหร่ยังไงก็จม ไม่ได้เกี่ยวกับการที่มีโฟมหรือไม่มีโฟมเลย ต่อให้มีโฟม แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่ความหนาแน่นบนเรือมากกว่าน้ำก็จมอยู่ดี อาจจะแค่จมลงไม่ลึก หรือ จมช้าลงเท่านั้นเอง ยกตัวอย่างง่ายๆเช่น ขันในตุ่มน้ำ ขันเปล่า จะลอยอยู่บนผิวน้ำ แต่เมื่อเราใส่น้ำเข้าไปในขัน ยังจะจมลงเรื่อยๆแต่ยังสามารถลอยได้อยู่ แต่เมื่อไหร่ที่เราใส่น้ำจนเต็มขันจนมวลน้ำ และ ความหนาแน่นของน้ำในขันมากกว่าน้ำ ขันก็จะจมลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้นการมีโฟมก็ไม่ได้แปลว่าเรือจะไม่จม

ส่วนบางคนที่บอกว่าเป็นการใช้เรือผิดประเภท ที่มีคลื่นน่าจะใช้เรือที่มีหัวแหลม หรือ หัววีมากกว่านี้ เรือหัววี ก็ต้องบอกว่าเป็นเรือที่แหวกคลื่นได้ดีกว่าแน่นอน แต่ก็กินน้ำเยอะกว่า แต่สร้างคลื่นได้มากกว่า ทำให้ไม่สามารถที่จะเอาเข้าไปช่วยชาวบ้านที่โดนน้ำท่วม เพราะคลื่นอาจจะสร้างความเดือดร้อนให้กับชาวบ้านเพิ่มเติมได้

จากที่ในปีที่ผ่านๆจากที่เราได้ออกไปช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมกันมาบ้าง เราได้เห็นเรื่องราวต่างๆเหล่านี้ เลยเป็นจุดเริ่มต้นของความคิดที่เราอยากที่จะสร้างเรือสำหรับกู้ภัยขึ้นมา โดยเรือต้องมีคุณสมบัติ คือ มีน้ำหนักเบาไม่สามารถใช้คนไม่กี่คนแบกข้ามสะพานได้ และ สามารถใช้กับเครื่องเล็กๆได้ เผื่อถ้าต้องเข้าไปช่วยคนในหมู่บ้านที่มีสะพานขั้น สามารถที่จะแบกเรือข้ามสะพาน เพื่อเข้าไปช่วยเหลือคนที่อยู่ด้านในได้ บรรทุกสัมภาระได้เยอะ เป็นเรือที่ไม่จม เราไม่ได้คิดแค่ฉีดโฟม เพราะจะเหมือนที่ผมได้อธิบายไว้ด้านบน แต่ต้องเป็นระบบกันจมที่สามารถที่จะกันจมได้จริงๆ แม้แต่ถ้าเรือแตกก็ยังสามารถวิ่งได้โดยไม่จม ตัวเรือต้องกินน้ำตื้น ด้วยแนวคิดที่อยากจะให้กู้ภัยสามารถเอาไปใช้กู้ภัยน้ำท่วมได้ด้วย เรือต้องกินน้ำตื้นมากๆ เผื่อถ้าเอาเข้าไปช่วยเหลือในหมู่บ้าน ไม่ว่าระดับน้ำแค่ใหนต้องเข้าไปให้ความช่วยเหลือให้ได้ สามารถสู้คลืนได้พอสมควร ด้วยแนวคิดที่เราต้องสร้างเรือที่สามารถใช้ได้กับทุกสถานะการณ์ดังนั้น ตัวเรือต้องสามารถที่จะวิ่งสู้คลื่น และ ฝ่ากระแสน้ำไปให้ได้ เราจึงเลือกที่จะใช้ท้องเรือที่เป็น กึ่ง Catamaran เพือให้ไม่โคลงเวลาจอด กินน้ำตื่น สามารถสู้คลื่นได้ ไม่สร้างคลื่นใหญ่รบกวนชาวบ้าน และ ที่สำคัญต้องไฟไม่ดูด เนื่องจากเราเห็นว่าเรือกู้ภัยหลายๆลำเป็นเรือเหล็ก หรือ อลูมิเนียม เมื่อตอนน้ำท่วมใหญ่ปี 54 มีทีมกู้ภัยหลายทีมที่เอาเรือเหล็ก หรือ เรืออลูมิเนียมเข้าไปช่วยน้ำท่วม แล้วโดนไฟดูจนกลายเป็นผู้ประสบภัยเสียเอง เราจึงเลือกที่จะทำเรือเป็นไฟเบอร์กล๊าส เพื่อป้องกันไฟดูด ในเวลาที่เราเข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบภัย และ ข้อสำคัญที่สุด คือ ตัวเรือต้องมีราคาที่ทุกคนสามารถจับต้องได้จริง

จากพูดถึงเรือกู้ภัยกลายเป็นพูดถึงเรือที่ทาง Thai Boat Club ไปร่วมพัฒนาะซะงั้น แต่เรือที่เราไปร่วมพัฒนาก็เป็นการพัฒนาเพื่อให้เป็นเรือกู้ภัยที่สวยที่สุด มีสมรรถนะที่ดีที่สุด และ ปลอดภัยที่สุด ดังนั้นถือว่าไม่ผิดกติกาเนอะ แล้วที่เราทำเราก็ไม่ได้หวังผลเรื่องการค้าอะไรเลย เราทำเพราะอยากจะได้ให้ประเทศไทยของเรามีเรือกู้ภัย ที่ดีที่สุด ปลอดภัยที่สุด ที่สามารถนำไปใช้กู้ภัย และ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้จริง

Comments

About the author:

Avatar photo

. Follow him on Twitter / Facebook.