เรือแบบไหนที่เราไม่ควรซื้อ

ทุกวันนี้ต้องบอกว่าเรือมือสองมีขายมากมาย ชนิดที่ว่ามีเรือจอดพร้อมขายให้เราเลือกเยอะมากๆ แต่ไม่มีคนขายเรือคนไหน ยอมบอกเราหรอกว่าอย่าซื้อเรือลำนี้นะ เพราะโน่น นี่ นั่น มีแต่จะบอกข้อดีให้เรารับรู้ ทำอย่างไรก็ได้เพื่อให้เค้าขายเรือได้ แต่วันนี้ผมจะมาพูดถึงเรือ 4 ประเภทที่เราไม่ควรที่จะซื้อ และ ทำไมถึงไม่ควรซื้อ

  1. เรือที่ชั่วโมงการใช้น้อยมากๆ แต่จอดมานานมากๆ
  2. เรือที่เคยจมมาแล้ว
  3. เรือที่มีปัญหาเรื่องโครงสร้าง
  4. เรือเก่าที่อายุมากกว่า 20 ปี ที่ใช้เครื่องที่เลิกใช้ไปนานมากๆแล้ว

เรามาพูดกันถึงเรือประเภทแรก คือ เรือที่ชั่วโมงการใช้ที่น้อยมากๆ แต่จอดมานานมากๆ เรือประเภทนี้ถึงแม้เราจะเห็นว่าน่าสนใจมากๆ เพราะชั่วโมงการใช้งานน้อยมากๆ แต่เราต้องไม่ลืมว่าเรือ หรือ รถที่จอดไว้นานๆ ส่วนใหญ่เครื่องยนต์มักจะมีปัญหา เพราะเครื่องไม่ได้รับการดูแล แบบที่ควรจะเป็น และ อีกข้อคือ เราไม่รู้ว่าเค้าจอดเรือกันไว้ที่ไหน อาจจะโดนหนู แทะสายไฟ หรือ มีแมลงเข้าไปทำรัง ซึ่งอาจจะทำให้เครื่องยนต์เสียหายได้ และ อาจจะทำให้เราต้องใช้เงินเยอะมากๆในการซ่อม

ประเภทที่สอง คือ เรือที่เคยจมมาแล้ว เรือประเภทนี้ถึงแม้ว่าจะกู้ขึ้นมาได้ และ ได้ทำการบูรณะจนกลับมาสวยเหมือนเดิมแล้ว แต่ปัญหาก็ คือ เราไม่รู้ว่ามีอุปกรณ์ไหนเสียหายบ้าง ไม่ว่าจะเป็นเรือของระบบไฟ เกจ์ และ สวิชท์ต่างๆ รวมไปถึงเครื่องยนต์ที่เคยผ่านการจมน้ำมาแล้ว ยังไม่นับกับโฟม หรือ โครงสร้างด้านในของเรือที่โดนน้ำเข้าไปแล้ว อาจจะทำให้โครงสร้างด้านในเสียหายได้ และ ถ้าต้องซ่อมเรื่องเหล่านี้บอกได้เลยว่าซื้อเรือลำใหม่อาจจะคุ้มกว่า

ประเภทที่สาม คือ เป็นเรื่องที่ต่อจากเรือที่เคยผ่านการจมน้ำมาแล้ว และ โครสร้างด้านในเสียหาย เรือประเภทนี้เราจะสามารถดูได้จากพื้น และ ด้านที่ Transom ว่ายวบยาบรึเปล่า ซึ่งเราสามารถดูได้จากการที่เราเดินรอบ ๆ พื้นเรือ และ กดน้ำหนักเท้าของเราไปทั่วๆดูว่ามีจุดไหนที่อ่อนยวบยาบบ้างรึเปล่า ถ้ามีอาจจะเป็นเรื่องใหญ่เพราะโครงสร้างของเรืออาจจะผุ และ อาจจะไม่ใช่แค่พื้น เพราะถ้าเป็นกระดูกงูบอกได้เลยว่างานนี้ยาวใหญ่แน่ๆ อีกส่วนคือ Transom ส่วนนี้ต้องบอกว่าเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดอีกส่วนของเรือเลยกว่าได้ เพราะเป็นส่วนที่ต้องรับน้ำหนักของเครื่องยนต์ ถ้า Transom ยวบยาบ Transom ถ้าเป็นเครื่อง Outboard เราสามารถที่จะเช็คได้โดยการที่เราเอามือของเราไปกดที่หางเครื่องลองกดลองโยกขึ้นลงว่า Transom มีอาการยวบยาบรึเปล่า ถ้าเป็นเครื่อง Sterndrive ให้เราเอามือลองไปยกที่ปลายหางของเครื่อง ว่ามีอาการอะไรรึเปล่า ถ้ามีมองผ่านเรือลำนั้นได้เลยครับ เพราะค่าซ่อมหนักมากๆ และ ซ่อมมายังไงก็ไม่แข็งแรงเท่าเดิม ซึ่งนั่นหมายถึงอายุการใช้งานจะน้อย และ อาจจะทำให้เราเกิดอันตรายตอนเราเอาเรือไปใช้ได้ครับ อีกส่วนที่เราสามารถสังเกตได้ก็คือตรง U-Bolt ท้ายเรือ หรือ ห่วงที่เราเอาไว้ผูกเชือกด้านท้ายเรือ ให้ดูว่ามีคราบน้ำรึเปล่า ถ้ามีแปลว่าด้านในอาจจะชื้นมากๆ และ ที่มีน้ำออกมาได้แปลว่าด้านในของ Transom ผุอย่างแน่นอน

เรือประเภทสุดท้าย คือ เรือที่มีอายุมากกว่า 20 ปี และ เรือที่มีเครื่องรุ่นที่เค้าเลิกผลิตแล้ว ยกตัวอย่างเช่น Jet Boat ที่อายุมากกว่า 20 ปี เรือประเภทนี้ส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องยนต์ 2 จังหว่ะที่ยังใช้คาร์บูเรเตอร์ ที่เสียงดัง และ กินน้ำมันค่อนข้างมาก และที่สำคัญคือหาอะไหล่ยากมากๆ อีกประเภทคือเรือ sterndrive ที่ใช้เครื่อง OMC เนื่องจากบริษัท OMC ล้มละลายไปตั้งแต่ปี 2000 ทำให้มีปัญหาเรื่องอะไหล่ และ คนซ่อมมากๆ อีกประเภทก็คือ Outboard ยี่ห้อที่เลิกผลิต เลิกขายไปนานๆ เพราะเครื่องประเภทนี้เป็นอีกประเภทที่หาอะไหล่อยากมากๆ ส่วนใหญ่ต้องเอามาดัดแปลงใช้ซึ่งก็ไม่สามารถทำให้กลับมาใช้ได้ดีได้เหมือนเดิม

สิ่งที่ผมเล่าให้ฟังกันในวันนี้ หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับคนที่กำลังหาเรือไม่มากก็น้อยนะครับ ขอให้ได้เรือดีๆ ที่ถูกใจนะครับ ไว้พบกันในสายน้ำครับ 

Comments

About the author:

Avatar photo

. Follow him on Twitter / Facebook.