Boat Anchor

คนที่เล่นเรือหลายๆคนคงจะนึกภาพสิ่งที่ผมกำลังจะพูดออกว่าเป็นยังไง แต่ผมเชื่อว่าอีกหลายๆคนอาจจะยังไม่เคยเจอ ลองคิดดูซิว่า ถ้าเกิดมีวันนึงที่เราไปขับเรือเล่น แล้วเจอกับคลื่นลมที่รุนแรง หรือ เล่นน้ำ ตกปลา เหนื่อยมาทั้งวัน แล้วไปเจอจุดจอดเรือข้างเกาะที่เงียบสงบ  ทิวทัศน์สวยงาม แต่แล้วต้องมาตื่นกลางดึกเพราะสมอที่ทิ้งไว้หลุด เรือไหลไปจนเกือบจะกระแทกกับโขดหิน หรือ ใกล้จะชนกับเรือลำอื่น หรือ แม้แต้บางคนที่ทอดสมอไว้แล้วขึ้นไปเที่ยวบนเกาะ แล้วกลับมาหาเรือตัวเองไม่เจอ จนคิดว่าเรือถูกขโมย แต่แล้วอีกชั่วโมง สองชั่วโมง มาเจอเรือลอยลำอยู่ทั้งๆที่สมอยังอยู่ แต่ว่าอยู่คนล่ะที่กับที่จอดไว้ตอนแรก

075 Different types of anchors

สาเหตุข้างต้นนั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่ไม่ว่าด้วยเหตุใด ผมเชื่อว่าไม่สนุกแน่ๆ ทีนี้เรามาลองดูกันนะครับว่ามีสาเหตุอะไรบ้างที่ทำให้เกิดเหตุการณ์แบบนั้น

  1. กระแสลมแรง หรือ กระแสลมเปลี่ยนทิศ

บางคนอาจจะคิดว่าถ้าเราใช้สมอที่ถูกประเภท และ ก็มีขนาดที่เหมาะสมกับเรือของเราแล้ว เหตุการณ์นี้ไม่น่าจะเกิดขึ้น แต่มันก็ยังอาจจะเกิดขึ้นได้ ถ้าสมอที่อยู่ใต้น้ำนั้นยังยึดเกาะได้ไม่ดี ถ้ากระแสลมมาแรงๆ หรือ กระแสลมเปลี่ยนทิศก็อาจจะกระชากเรือทำให้สมอหลุดได้ ดังนั้นถ้าต้องจอดเรือในที่มีกระแสลม เราอาจจะต้องใช้สมอ 2 ถึง 3 ตัวได้ โดยการทิ้งสมอเป็นรูปตัว V และปล่อยสายให้ยาวเพียงพอเผื่อกระแสลม แต่ข้อที่สำคัญที่สุดในการทิ้งสมอแบบนี้ก็คือ สายสมอ ต้องยาวพอ เพราะไม่งั้นอาจจะยิ่งทำให้เกิดอันตรายได้ เพราะลมอาจจะพัดแรงจนสายสมอตึงทั้ง 2 เส้น แล้วสวนกับกระแสน้ำ ซึ่งถ้าเป็นแบบนั้น น้ำอาจจะเข้าเรือ หรือ ทำให้เรือเสียสมดุลได้

anchor_selection

  1. ความตึงของสายสมอ

ความตึงของสายสมอนั้นมีอยู่หลายระดับ ถ้าเราดูว่าสายของเราตึงมากจนเกินไปนั่นอาจจะหมายถึงสมอที่พร้อมจะหลุดได้ด้วยเช่นกัน ถ้าเราดูแล้วว่าการที่เราทิ้งสมอเส้นเดียวแล้วเรือยังหมุนไปหมุนมา เราอาจจะต้องใช้สมออีกอันเพื่อช่วยประคองไม่ให้เรือหมุนไปมาโดยการทิ้งสมอเป็น 2 ตัวให้เป็นมุมรูปตัว V ที่ประมาณ 140 – 180 องศา ถ้าเราทิ้งสมอให้อยู่ในมุมยิ่งใกล้ 180 องศามากเท่าไหร่ เรือก็จะอยู่กับที่มากขึ้นเท่านั้น แต่วิธีนี้อย่างที่ผมได้พูดไว้ในข้อ 1 เวลาที่เราจะต้องใช้สมอมากกว่า 1 อันนั้นเราควรที่จะเผื่อสายไว้ด้วย เพื่อให้หัวเรือสามารถที่จะให้หมุนรับลม และ ให้ตัวได้ วิธีนี้จะทำให้คนที่อยู่บนเรือไม่กระอักกระอ่วนกับคลื่นลมมากนัก แต่ถ้าเราจำเป็นที่ต้องจอดแบบให้อยู่กับที่จริงๆโดยที่ไม่ให้ตัว หรือ ขยับเลยก็สามารถที่จะทำได้   โดยการทิ้งสมอตัวแรกที่หัวเรือ และ อีกอันที่ท้ายเรือ แต่วิธีนี้บนเรือจะรู้สึกโคลงมากๆ เพราะเรือจะขึ้นลงตามรูปของคลื่นเลยครับ

 

boat anchor_Thaiboatclub

  1. กระแสน้ำขึ้น – ลง

ผลกระทบจากกระแสน้ำขึ้น – ลง นั้น ส่วนใหญ่ จะใหญ่มักจะพบกับคนที่เล่นเรือตามแม่น้ำ มากกว่าคนที่เล่นเรือในทะเล กระแสน้ำขึ้นลงในแม่น้ำนั้น มีผลต่อการทอดสมอมากๆ เพราะการขึ้นลงของน้ำ ยิ่งในจุดที่ใกล้ปากอ่าวนั้น กระแสน้ำขึ้น ลง เร็วมากๆ บางช่วงระดับน้ำอาจจะเปลี่ยนได้ถึง 60 เซ็นติเมตร หรือ ถึง 1 เมตรภายใน 1 ชั่วโมงเลยก็ได้ ดังนั้นการที่เราจะทอดสมอในแม่น้ำนั้นเราควรที่จะดูเรื่องระดับการขึ้นลงของน้ำไว้ด้วย เพราะบางทีจุดที่เราเห็นว่าเหมาะสมนั้น ผ่านไปแค่ครึ่งชั่วโมง หรือ 1 ชั่วโมง เราอาจจะติดตื้นได้ หรือ ถ้าเป็นช่วงกระแสน้ำขึ้นแรง ถ้าสายสมอตึงเกินไป และ ไม่ได้เผื่อสายสมอไว้สมออาจจะหลุดทำให้เรือไหลไปกระแทกกับตลิ่ง หรือ ตอหม้อสะพานได้

anchor_ThaiBoatClub

การเลือกซื้อสมอ

สมอเรือมีหลากหลายประเภทมากๆ ดั้งนั้นการที่เราจะเลือกซื้อสมอสักอัน เราควรที่จะเลือกให้เหมาะสมกับประเภทของเรือ ขนาดของเรือ และ ประเภทการใช้ เช่นสมอสำหรับทะเล สมอสำหรับแม่น้ำ สมอสำหรับทะเลสาป แต่จากประสบการณ์ของผม ผมเลือกที่จะซื้อสมอทุกประเภท เผื่อไว้สำหรับกิจกรรมที่ต่างกันไปในแต่วาระ แต่ผมจะเลือกสมอให้ใหญ่กว่าขนาดของเรือผมเล็กน้อยเพื่อความปลอดภัย

 

ที่ผมเขียนมาข้างต้นทั้งหมด เป็นเทคนิคของการจอดเรือนานๆ หรือ ค้างคืน แต่ถ้าเป็นการจอดเรือเพื่อตกปลาไม่ควรใช้เทคนิคเหล่านี้นะครับ เพราะเราต้องย้ายหมายบ่อย จะทำให้เกิดความลำบากในการจะย้ายหมายแต่ล่ะที หวังว่าข้อมูลนี้น่าจะเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยนะครับ

Comments

About the author:

Avatar photo

. Follow him on Twitter / Facebook.