Maintenance Tips

ตารางการตรวจเช็คของเครื่อง 2 จังหวะ

ผมเชื่อว่ามีนักเล่นเรือไม่น้อย ที่มองข้ามเรื่องการตรวจเช็คเครื่องยนต์ บางคนถ้าเครื่องไม่มีอาการอะไรแทบจะไม่เคยเปิดฝาเครื่องเลยก็มี จริงๆแล้วเรื่องนี้เป็นอีกเรื่องที่สำคัญมากๆนะครับ นึกสภาพว่าเราต้องไปลอยคออยู่กลางแม่น้ำ หรือ ในทะเล เพราะเครื่องยนต์มีปัญหา และ ถ้ายิ่งอยู่ในสภาวะที่คลื่นลมกำลังแปรปรวนอยู่ด้วย รับรองได้ว่าไม่สนุกแน่ๆครับ วันนี้ผมมี tips เล็ก ๆ ที่ผมใช้ตรวจเช็คเครื่องยนต์ มาให้ลองศึกษากันดูเผื่อจะเป็นประโยชน์กับนักเล่นเรือมือใหม่บ้างไม่มากก็น้อย

 

เมื่อเราใช้เครื่องยนต์ครบ 20 ชั่วโมงแรก

  1. เช็คน๊อตทุกตัวว่ายังแน่นอยู่ดีรึเปล่า
  2. เช็คระบบการจ่ายน้ำมันว่ามีรั่ว หรือ มีซึมตรงใหนบ้างรึเปล่า
  3. เช็คน๊อตที่ใช้แขวนเครื่องกับ Transom
  4. เช็คระบบพวงมาลัย ว่ายังทำงานเป็นปกติดีอยู่รึเปล่า
  5. เช็คข้อต่อของสายพวงมาลัย มาน๊อตคลายออกมารึเปล่า
  6. ตรวจเช็คใบจักรว่ามีรอยร้าว หรือ ได้รับเสียหายรุนแรงบ้างรึเปล่า
  7. ตรวจเช็คหัวเทียน
  8. ตรวจเช็คจุดข้อต่อที่ใช้จารบี ว่ายังมีจารบีสมบูรณ์ดีอยู่รึเปล่า
  9. ตรวจเช็คน้ำมันเกียร์

 

ตรวจเช็คประจำปี หรือ เมื่อใช้เครื่องยนต์ครบ 100 ชั่วโมง

  1. ตรวจเช็คข้อต่อต่างๆ ที่ต้องการความหล่อลื่น (จารบี) ว่ายังสมบูรณ์ดีอยู่รึเปล่า
  2. ตรวจเช็คไส้กรองน้ำมันเบนซินว่าสกปรก หรือ อุดตันรึเปล่า
  3. ตรวจเช็ค และ ทำความสะอาดหัวเทียน
  4. ตรวจเช็ค คาบูเรเตอร์ ว่าทำงานปกติรึเปล่า
  5. ตรวจเช็ค anodes ว่ายังสมบูรณ์ดีอยู่รึเปล่า (โดยเฉพาะคนที่ใช้เรือวิ่งทะเลบ่อยๆ)
  6. เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์
  7. ตรวจเช็คน้ำมันไฮดรอลิค (Trim)
  8. ล้างเครื่องยนต์ด้วย Power Tune Engine Cleaner
  9. ตรวจเช็คแบตเตอรี่
  10. ตรวจเช็ค สายเคเบิ้ลต่างๆ
  11. ตรวจเช็คน๊อตทุกตัว
  12. ตรวจเช็คแกนใบจักร

รายการตรวจเช็ค เมื่อใช้งานเครื่องยนต์ถึง 300 ชั่วโมง

เปลี่ยนลูกยางปั๊มน้ำ (water pump impeller) สำหรับลูกยางปั๊มน้ำ ถ้าเราพบว่าเครื่องยนต์ของเราร้อนผิดปกติ อาจจะเกิดจากสาเหตุที่ลูกยางปั๊มน้ำ เสื่อมทำให้ระบบหล่อเย็นไม่สามารถที่จะดูดน้ำเข้าไปได้ดีทำให้เครื่องร้อนก็เป็นไปได้นะครับ

 

หวังว่า Tips เล็กๆนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับคนที่เพิ่งเริ่มต้นเล่นเรือไม่มากก็น้อยนะครับ

Comments

About the author:

Avatar photo

. Follow him on Twitter / Facebook.