เยี่ยมชมอู่ต่อเรือเร็วไฟเบอร์กลาส ตอนที่ 1

เรื่องนี้จริงๆผมเคยเอามาลงไว้แล้ว แต่หายไปตอนที่เราทำเวปใหม เลยเอาลงมาไว้ให้ศึกษากันนะครับเหมือนที่เขียนไว้ตั้งแต่ตอนที่แล้วว่า ทางเวปของเรารู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ นายกระโทงแทงหรือ คุณกิตติ อนุชาผัด กูรูตัวจริงแห่งวงการเรือไทย ได้อนุญาตให้ Thai Boat Club เอาหนังสือของท่านมาลงให้เพื่อนๆชาวเรือได้ศึกษากัน จึงขอขอบคุณ คุณกิตติ อนุชาผัด และ คุณไกวัล อนุชาผัด เป็นอย่างสูงมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ

Thai Boat Club

เยี่ยมชมอู่ต่อเรือเร็วไฟเบอร์กลาส
ประวัติการทำงานต่อเนื่องกันมาตั้งแต่ราวๆ ปี พ.ศ. 2513 จะได้ว่าเป็นรุ่นบุกเบิกก็ว่าได้ เพราะเจ้าของและผู้ริเริ่ม คือ คุณกิตติ อนุชาผัด บอกเราว่า หลังจากเรียนจบวิศวกรรมเครื่องกลจากประเทศเยอรมันนี ก็ไปฝึกงานในอู่ต่อเรือเร็วที่เมืองดุสเซลอร์ฟ เป็นเวลา 2 ปี แล้วจึงกลับมาต่อเรือในเมืองไทย ตั้งแต่นั้นมาจนทุกวันนี้รวมแล้ว 20 ปี เสียดายก็แต่ว่าเมื่อปี พ.ศ. 2521 โรงงานไฟไหม้หมด จึงมาเริ่มใหม่อีกโดยก่อตั้ง บริษัท มาลินไทยคร๊าฟท์ จำกัด เมื่อ พ.ศ. 2527 ซึ่งก็ได้เอื้อเฟื้อให้เราพาท่านไปรู้จักและเยี่ยมชมกิจการต่อเรือเร็วไฟเบอร์กลาสที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักและยอมรับของวงการนักเล่นเรือเร็วทั้งหลายในเมืองไทย
พอเข้าไปในบริเวณบริษัทฯ เราก็ได้เห็นเรือเร็วทั้งเล็กและใหญ่ ซึ่งแสดงโชว์อยู่ทางด้านหน้าติดกันเป็นห้องสำนักงานขาย ซึ่งอยู่ด้านล่างของอาคารสำนักงาน 2 ชั้น เราขึ้นบันไดไปชั้นบนซึ่งจัดเป็นสำนักงานฝ่ายบริหารและบัญชีการเงิน ซึ่งคุณกิตติได้รอต้อนรับเราอยู่และได้พาเราไปเยี่ยมชมกิจการ โดยเริ่มจากฝ่ายบริหารโรงงาน, แผนกพัสดุและเครื่องมือ,แผนกบริการและติดตั้งเครื่องยนต์เรือ คุณกิตติอธิบายว่าจุดเริ่มต้นของการผลิตอยู่ที่โมล์ดหรือแม่แบบ ซึ่งจะต้องทำความสะอาดและขัดผิวให้เป็นเงางามเสียก่อน จากนั้นก็จะใช้ผ้าสะอาดชุบแว๊คส์ถอดแบบ (MOOULD RELEASING WAX) ทาให้ทั่วโดยทิ้งไว้ให้แว๊คส์ซึมเข้าไปในผิวแม่แบบสักพัก แล้วใช้เครื่องขัดขนแกะขัดเงาจนทั่วและผิวแม่แบบเป็นเงามากที่สุด จากนั้นก็นำแม่แบบไปพ่นสีเจลโค๊ต (COLOURED-GEL COAT) ในห้องพ่นสี ซึ่งต้องมีระบบถ่ายเทดูดอากาศอย่างดี เมื่อพ่นสีเสร็จจะต้องรอให้สีแข็งตัวดีพอสมควร (ประมาณหนึ่งชั่วโมงครึ่งถึงสองชั่วโมง) จึงจะนำไปแผนกลงไฟเบอร์กลาส/เรซิ่น (FIBERGLASS LAMINATION) โดยพนักงานซึ่งได้ตัดใยแก้วชนิดต่างๆ เช่น แบบเสื่อ (CHOPPEDSTRAND MAT) หรือแบบสาน (WOVENROVING) ที่เตรียมเอาไว้แล้วในขณะที่รอสีแข็งตัว ขั้นต่อไปก็ลงมือทำงานโดยวางแผ่นใยแก้วลงไปบนแม่แบบซึ่งได้พ่นสีเจลโค๊ตที่แข็งตัวสนิทแล้ว จากนั้นก็ผสมน้ำยาเรซิ่นด้วยตัวเร่งปฏิกริยาและตัวทำปฎิกริยา แล้วคนให้เข้ากันจนทั่วทาลงบนใยแก้วด้วยลูกกลิ้ง จากนั้นก็ใช้ลูกกลิ้งกดไล่ฟองอากาศให้ออกจากผิวไฟเบอร์กลาสให้หมด เราสังเกตได้ว่าพนักงานของบริษัท มาลินไทยคร๊าฟท์ มีความชำนาญสูง เพราะวิธีการทำงานและท่วงทีในการปฎิบัติงานทำด้วยความรวดเร็วและเรียบร้อย บ่งถึงความคุ้นเคยและเชี่ยวชาญในการทำงาน คุณกิตติ คงจะสังเกตเห็นถึงอัปกริยาในเชิง-ทึ่งของเรา จึงบอกพวกเราว่าพนักงานเหล่านี้บางคนอยู่กับบริษัทมาตั้งแต่เริ่มต้นเมื่อยี่สิบปีที่แล้วจึงมีความชำนาญ เมื่อผิวเปลือกเรือมีขนาดความหนาของชั้นใยแก้วชนิดต่างๆ ตามมาตรฐานที่วางไว้ก็จะหยุดทิ้งไว้โดยปล่อยให้ไฟเบอร์กลาสซึ่งทาเรซิ่นและไล่ฟองอากาศเรียบร้อยแล้วแข็งตัว ซึ่งจะใช้เวลาไม่นาน จากนั้นก็เอาชิ้นส่วนกระดูกงูซึ่งเป็นไม้มาเสริมตามจุดต่างๆ คุณกิตติ อธิบายว่า จำเป็นต้องใช้ไม้เป็นตัวเสริมกำลังเนื่องจากไม้มีความยืดหยุ่นได้น้อยกว่าไฟเบอร์กลาสและเมื่อนำไฟเบอร์กลาสมาปิดทับไม้กระดูกงู ก็จะทำให้ส่วนท้องเรือแข็งแรงมากขึ้น ที่ผนังท้ายเรือ (TRANSOM) เราเห็นพนักงานนำแผ่นไม้อัดกันน้ำซึ่งตัดเข้ารูปมาอัดติดกับท้ายเรือโดยใช้แคล้มพ์ (CLAMPS) ขนาดใหญ่อัดอย่างแน่นหนาจนน้ำยาเรซิ่นและไฟเบอร์กลาสที่ประสานอยู่ระหว่างชั้นไม้อัดปลิ้นออกมาตามขอบโดยรอบ จากนั้นก็โป๊วขอบโดยรอบที่เป็นช่องว่างด้วยน้ำยาเรซิ่นโป๊วผสมผงแป้ง (TALCUM POWDER PUTTY) และลงใยแก้ว/เรซิ่นปิดทับด้านหน้าอีกชั้นหนึ่งเพื่อกันไม้อัดผุ หลังจากที่งานกระดูกงูและท้ายเรือเสร็จพนักงานก็จะอัดโฟมแท่งสีเขียว(POLYSTYRENE FOAM) เข้าไปในช่องระหว่างกระดูกงูจนเต็ม ซึ่งคุณกิตติอธิบายว่านั่นเป็นมาตรการที่ทำเพื่อความปลอดภัย คือ ใช้ท้องเรือที่บุโฟมเป็นกล่องกันจมหรือเป็นห้องอับเฉา (BOUYANCY) จากนั้นก็นำไม้อัดเป็นแผ่นมาปิดทับโดยใช้สกรูเกลียวปล่อยทองเหลืองยึดพื้นไม้อัดเข้ากับไม้กระดูกงู จากนั้นเราเห็นพนักงานเจาะรูที่พื้นเป็นระยะๆ และผสมของเหลวสองชนิดซึ่งมีสีขาวนวลและสีค่อนข้างดำโดยพนักงานผู้นั้นต้องคนให้เข้ากันอย่างเร็ว แล้วรีบเทลงไปในรูที่เจาะไว้ทีละรู จากนั้นประมาณ 2-3 นาที เราก็ได้เห็นโฟมสีน้ำตาลอ่อนฟูขึ้นมาตามรูเหล่านั้น ซึ่งต้องทำการปิดทับด้วยไม้อัดแผ่นเล็กๆ เอาไว้อีกครั้งหนึ่ง ทั้งหมดนี้คุณกิตติ บอกว่าเป็นการเทยูรีเทนโฟม (POLYURETHANE FOAM) ซึ่งเข้าไปทำปฎิกริยากันภายในช่องว่างต่างๆ ระหว่างพื้นเรือและโฟมสีขาว เพื่อไล่อากาศและประสานพื้นเรือให้เข้ากับกระดูกงูและโฟมขาวทำให้เกิดความหนาแน่นของทุกส่วนใต้พื้นไม้อัดและให้ความแข็งแรแก่ท้องเรือเป็นอย่างดี หลังจากเทโฟมให้ฟูใต้ท้องเรือเสร็จแล้ว ก็จะปูด้านบนพื้นไม้อัดด้วยไฟเบอร์กลาสอีกครั้ง ก็เป็นอันทำท้องเรือเสร็จสมบูรณ์ จากนั้นก็ต้องรอให้ไฟเบอร์กลาส/เรซิ่น แข็งตัวอีกครั้งประมาณสองชั่วโมงก็สามารถถอดตัวท้องเรือออกจากแบบได้ ซึ่งท้องเรือที่มีสีสวยสดและเป็นเงาวาววับก็เผยโฉมออกมาให้เห็นอย่างน่าทึ่งจริงๆ ขณะเดียวกันถัดจากแผนกไฟเบอร์กลาส ก็มาถึงแผนกประกอบตัวเรือ ซึ่งเป็นภาพที่มีสีสันสวยงามเพราะสีของเปลือกเรือนั้นสดใสหลายหลากน่าดูชม รวมทั้งอุปกรณ์เรือต่างๆ ที่นำมาประกอบกันเข้ากับตัวเรือ เช่นกระจกพลาสติกโค้ง ราวมือจับสแตนเลสเงาวับ เบาะที่นั่งคาดสีตัดเข้ากับตัวเรือ พวงมาลัย และอุปกรณ์หน้าปัดต่างๆ และขั้นสุดท้ายคือการติดตั้งเครื่องยนต์ติดท้าย ซึ่งเป็นที่เพลินตาเพลินใจของเราทุกคน ถัดไปคุณกิตติก็พาเราไปชมแผนกช่างเหล็กซึ่งทำการผลิตรถเทรลเล่อร์ เพื่อใช้บรรทุกลากเรือ ซึ่งจากการที่เรามองเห็นด้วยตาก็ต้องชมว่าเขาทำได้สวยและแข็งแรง ทำให้เกิดความมั่นใจได้ในการขับขี่ลากจูงเรือไปเที่ยวเล่นได้ทุกแห่งทุกที่ และในช่วงสุดท้าย เราก็ผ่านไปถึงบริเวณที่โชว์เรือสำเร็จรูปอีกครั้ง เป็นอันว่าเราได้เดินชมรอบบริเวณอู่ต่อเรือที่มีชื่อเสียงของประเทศไทย จนครบถ้วนกระบวนการผลิตอันน่าดูชมเป็นอย่างยิ่ง

Comments

About the author:

Avatar photo

. Follow him on Twitter / Facebook.

เยี่ยมชมอู่ต่อเรือเร็วไฟเบอร์กลาส ตอนที่ 2

การใช้เครื่องยนต์ขับเคลื่อนเรือ
เรือแบบและขนาดต่างๆ ต้องมีเครื่องยนต์ขับเคลื่อนให้เหมาะสมกับการใช้งานจำเพาะอย่าง เช่น เรือขนาดเล็กที่ต้องการใช้งานเบาๆ และวิ่งด้วยความเร็วสูงก็ต้องเลือกใช้เครื่องยนต์ที่มีขนาดกะทัดรัดเหมาะสมกับตัวเรือ เช่นเครื่องเอ้าท์บอร์ด (OUTBOARD) (more…)

Comments

About the author:

Avatar photo

. Follow him on Twitter / Facebook.

เยี่ยมชมอู่ต่อเรือเร็วไฟเบอร์กลาส ตอนที่ 3

ความรู้เรื่องเรือ (COOLING SYSTEMS)
การระบายความร้อนของเครื่องยนต์เรือมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะทำให้อายุการใช้งานและกำลังของเครื่องยนต์เรือเป็นไปอย่างที่เราต้องการคือไม่สึกหรอเร็วกว่ากำหนดและให้กำลังขับเคลื่อนดีสม่ำเสมอ ดังนั้นการที่จะเลือกใช้ระบบระบายความร้อนของเครื่องยนต์เรือให้เหมาะสม (more…)

Comments

About the author:

Avatar photo

. Follow him on Twitter / Facebook.

เยี่ยมชมอู่ต่อเรือเร็วไฟเบอร์กลาส ตอนที่ 4

การเล่นเรือและปลอดภัย และเรื่องราวต่างๆ ของเรือ ดังนี้.

วิธีการเล่นเรือให้เป็นและปลอดภัยความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเรือ

รูปแบบท้องเรือ

การใช้เครื่องยนต์ขับเคลื่อนเรือเครื่องยนต์ติดท้าย, เครื่องยนต์เสทิร์นไดร๊ฟหรือไอโอ

เครื่องยนต์วางกลางลำเรือ (more…)

Comments

About the author:

Avatar photo

. Follow him on Twitter / Facebook.